โคงสร้างการจัดการ(กรณีศึกษา)

1. โครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix  Structure)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาใช้โครงสร้างแบบ (Matrix  Structure)
เป็นโครงสร้างแบบแมททริกซ์ เป็การจัดองค์การโดยใช้ทีมงานซ้อนหน้าที่ และหน่อยงานต่างๆ ขององค์การที่ผู้ปฏิบัตงานมีนายสองคน หรือต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาสองคน เพราะ องค์การดังกล่าวต้องทำงานหลากหลายหน่อยงานจำเป็นต้องมีความยือหยุ่นในสภาพแลดล้องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด กรุงศรีได้ดำเนินกิจการซึ่งประกอบด้วยคณะการรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยที่คณะกรรมการได้แต่งตั้งขึ้น 6 คณะ เพื่อช่วยใการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ และให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการกำกับควบคุมความเสียงของกิจการ และได้มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 ลักษณะตามที่ความรับผิดชอบประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจ และกลุ่มงานสนับสนุนมีการแบ่งแยกทบบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการธนาคารและฝ่ายจัดการที่ชัดเจน

           คณะกรรมการธนาคาร ปัจจุบันคณะกรรมการธนาคารมีจำนวนทั้งสิ้น 12 คน ประกอบด้วย กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 5 คน กรรมการอิสระ 4 คน และกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 3 คน  โครงสร้างองค์ประกอบ โดยหลักผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการในจ านวนที่เหมาะสมและเพียงพอส าหรับการท าหน้าที่ โดยมี กรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 3 คน หรืออย่างน้อย 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งคณะ แล้วแต่จ านวนใดจะสูงกว่า และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด( มหาชน ) ธนาคารได้ปฏิบัติตามแนวทางโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมบรรษัทภิบาลของธนาคารพาณิชย์ โดยจัดโครงสร้างการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการรวม 7 ชุด ดังนี้
         1. Organization Chat รวมของทั้งระบบ 1. คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของธนาคาร และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
         2. คณะกรรมการบริหาร - การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติสินเชื่อ ปรับปรุงหนี้ และตัดหนี้สูญ ตามอำนาจที่กำหนด - การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการลงทุน หรือขายหลักทรัพย์ที่ธนาคารลงทุน การซื้อขายหรือให้เช่าทรัพย์ของธนาคาร ตามอำนาจที่กำหนด - การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติแต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่ได้รับมอบหมาย - การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษา การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบการพัสดุ - การพิจารณากลั่นกรองแผนธุรกิจ งานนโยบายและงบประมาณประจำปี การติดตามงานที่มีความสำคัญที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย - การพิจารณาอนุมัติหรือรับทราบกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรเป็นการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งหากไม่ดำเนินการแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบโดยเร็ว - ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย 
          3. คณะกรรมการตรวจสอบ - สอบถามให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงิน อย่างเพียงพอถูกต้อง และเชื่อถือได้ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป - สอบถามกับผู้สอบบัญชีถึงประเด็นสำคัญ ๆ อันอาจกระทบต่อความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน - สอบถามกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารและการบันทึกบัญชีให้มี ความถูกต้องและครบถ้วนโปร่งใส - สอบถามหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการ ที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร - สอบถามถึงข้อมูลที่นำส่งหน่วยงานกำกับดูแล ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลในรายงานทางการเงิน
          4. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน - กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งผลประโยชน์อื่นของกรรมการธนาคาร และผู้บริหารระดับสูง - พิจารณาเสนอแนะนโยบายในภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของธนาคาร - สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด แล้วนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร - ดูแลให้คณะกรรมการธนาคาร มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป - เสนอคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการธนาคารแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับ - ดูแลให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อธนาคาร - กำหนดแนวทางและประเมินผลงานของผู้บริหารระดับสูง - ดำเนินการอื่น ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย 
          5. คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม - เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารและบริษัทในเครือต่อคณะกรรมการธนาคาร - กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาลของสถาบันกำกับ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม - พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล และข้อเสนอแนะของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - พิจารณาเสนอข้อพึงปฏิบัติที่ดี สำหรับคณะกรรมการธนาคาร หรือเสนอการกำหนดข้อบังคับคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่ธนาคารแต่งตั้งทุกชุด - เสนอแนะข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร - ส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่เข้าใจทั่วทุกระดับ และมีผลในทางปฏิบัติ - พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ตามความเหมาะสม - การอื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย 
          6. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง - เสนอ/กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวมต่อคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น - วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของธนาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม - ควบคุม ติดตาม ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง และดูแลให้ธนาคารดำเนินการตามนโยบายและแนวทางบริหารความเสี่ยงที่ธนาคาร และหน่วยงานกำกับกำหนด - ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด - เสนอ/กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนควบคุมติดตามและประเมินความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ - นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อรับทราบและ/หรือพิจารณาทุกเดือน และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบ และ/หรือพิจารณาทุกไตรมาส - มีอำนาจที่จะเชิญฝ่ายจัดการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้ข้อมูลหรือเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ - ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
          7. คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการธนาคารในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจว่า ธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่ใช้บังคับกับธุรกรรมต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานทางการที่มีอำนาจตามกฎหมายหรือผู้กำกับสถาบันการเงิน และกฎระเบียบภายในธนาคาร 
2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 2 ลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย กลุ่มงานหลัก และกลุ่มงานที่ไม่ใช่งานหลัก 
1. กลุ่มงานสายงานหลัก - สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย - สายงานธุรกิจขนาดกลาง - สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 1 - สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 2 - สายงานธุรกิจภาครัฐ - สายงานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการจัดการทางการเงิน 
2. กลุ่มงานที่ไม่ใช่สายงานหลัก - สายงานบริหารการเงิน - สายงานกำกับและบริหารงานกฎหมาย - สายงานปรับโครงสร้างหนี้และบริหารทรัพย์สิน - สายงานบริหารความเสี่ยง - สายงานปฏิบัติการ - สายงานตรวจสอบภายใน - สายงานทรัพยากรบุคคลและบรรษัทภิบาล - สายงานบริหารการตลาดและสื่อสารองค์กร - กลุ่มยุทธศาสตร์ธนาคาร 
3. Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่ ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทาง การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
4. Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา
เขตกรุงเทพและปริมลฑล 272 สาขา ส่วนภูมิภาค 338 สาขา รวมสาขาในประเทศ 610 สาขา สาขาต่างประเทศ Vientiane 1 สาขา 
Hongkong 1 สาขา 
Savannakhet 1 สาขา 
Cayman Islands 1 สาขา
 รวมสาขาต่างประเทศ 4 สาขา จำนวนพนักงาน 
19,471 คน (รวมทั้งเครือ)
สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 81 บูธ 
เครื่องเอทีเอ็ม จำนวน 4,779 เครื่อง ศูนย์ธุรกิจกรุงศรี จำนวน 55 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น